ReadyPlanet.com
dot dot
bulletหน้าแรก
bulletรายละเอียด
bulletระบบ LAN
bulletระบบ Network
bulletผลงาน
bulletติดต่อบริษัท


ลิงค์ไปหาเว็บ สยามพารากอน
ลิงค์ไปหาเว็บ นกแอร์
ลิงค์ไปหาเวบคิงพาวเวอร์
ลิงค์ไปหาเว็บ ทรู


ข่าวสาร

Topology

        ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันคือ แบบ  Star ,  Ring หรือ  Bus  ในบางครั้งอาจนำ  Topology มาผสมกันเพื่อให้การทำงานดีขึ้น
กลายเป็นรูปแบบใหม่คือ Hybrid และ Mash Topology
    Bus  หรือแบบเส้นตรง เป็นการเชื่อมต่อสายแบบเส้นตรงซึ่งติดตั้งได้ง่าย แต่มีปัญหาในกรณีที่สายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดไปจะ
ทำให้ระบบ Network หยุดการทำงานทันที

 


    Ring  หรือแบบวงแหวน โดย   Workstation   และ   File Server   จะถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลมทำงานโดยส่งข้อมูลผ่านกันทุก
Workstation  แต่ข้อเสียคือถ้า workstation ใดเกิดขัดข้องทั้งระบบจะหยุดทำงานไปด้วย  แต่ข้อดีก็คือเชื่อมต่อกันได้ด้วยระยะทาง
ไกลขึ้น

 


    Star  หรือแบบดาวกระจาย  Workstation  และ  File Server  จะถูกต่อเชื่อมเข้ากับอุปกรณ์ต่อเชื่อมตัวกลางที่เรียกว่า
"Concentrator"  หรือ  "Hub"   โดย Hub นี้จะทำหน้าที่รับส่งข้อมูลก Station หนึ่งแล้วไปให้กับ Station อื่นข้อดีก็คือ Station ใด
ขัดข้องขึ้น Station อื่นก็ยังคงทำงานได้อย่างปกติ   นอกจาก Hub หรือ File Server เองจะมีปัญหาซึ่งทำให้ระบบหยุดทำงานเช่น
กัน

 


    Hybrid  เป็น Topology ใหม่ที่ผสมผสานรูปแบบของ Star, Bus และ Ring เข้าด้วยกันเป็นการลดจุดอ่อนและเพิ่มจุดเด่นให้กับ
ระบบ มักใช้ระบบ Wide Area Network ( WAN) และ Enterprise-Wide Network

 


    Mesh  เป็น  Topology ที่ถือว่าป้องกันการผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด  ทั้งนี้เนื่องจากเราเดินสาย Cable ไปเชื่อม
ต่อกับ Station ทุก Station   โดยเมื่อสายจาก Station ใดเกิดมีปัญหาขึ้นก็จะยังสามารถใช้สายอื่นที่เหลืออีกได้ ระบบนี้ยากต่อการ
เดินสายและมีราคาแพงมาก จึงยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก

 


 


Network Architectures

        รูปแบบของการเชื่อมต่อสายส่งข้อมูลแบ่งได้มากมายหลายชนิด แต่ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันได้แก่ Ethernet , Token Ring ,
Arcnet และชนิดใหม่ได้แก่ FDDI , CDDI และ ATM เป็นต้น
Ethenet  มีชนิดให้เลือกใช้งาน 3 แบบ คือ
    1. 10 Base 2   เป็นแบบที่ใช้สาย   Coaxial RG58A/U   และจะต้องมี   Ground Terminator  ขนาด  50  โอห์ม ปิดท้ายของระบบ
Network  เป็นจำนวน 2 ตัว   ในระบบแบบ 10 BASE 2 นี้จะมีอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อเชื่อม Network Card  และ  Cable  เข้าด้วยกัน
T-connector มี 3 ขา  ขาที่ 1 จะเป็นขาพิเศษที่ใช้ต่อกับ Network Card ซึ่งเสียบอยู่ใน PC ส่วนอีก 2 ขาที่เหลือจะใช้ต่อกับ  Cable

 


 

    • T-connector เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อม Network Card และ Cable เข้าด้วยกัน T-connector มี 3 ขา  ขาที่ 1 จะเป็นขา
      พิเศษที่ใช้ต่อกับ Network Card ซึ่งเสียบอยู่ใน PC ส่วนอีก 2 ขาที่เหลือจะใช้ต่อกับ Cable
    • BNC-Connector เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ทำหัวให้กับสาย Cable เพื่อให้สามารถเสียบต่อกับ T-Connector ได้นั่นเอง
    • BNC-Barrel Connector เป็นอุปกรณ์ ที่ใช้เชื่อมต่อสาย Coax  ในกรณีที่ต้องการต่อให้มีความยาวมากขึ้น  ไม่ควร
      นำสาย Coax มาต่อกัน โดยใช้ T-connector เพราะจะทำให้ระบบคิดว่าเป็นอีก 1 Workstation ซึ่งอาจจะทำให้เกิด
      ปัญหากี่ยวกับจำนวน Station ใน LAN 1 วงได้ (ไม่เกิน 30 Station)
    • Ground-Terminator มี 2 ตัว ต่อ 1 ระบบ ใช้ปิดสัญญาณหัวท้ายของระบบ Network และมี Ground  เพื่อป้องกัน
      ไฟรั่ว


ข้อแนะนำในการติดตั้งสาย Coax แบบ Thin

  1. ห้ามนำสาย Cable ที่มี BNC เสียบเข้าโดยตรงกับ LAN CARD ให้เสียบผ่าน T-connector
  2. Terminator  ขนาด 50 โอห์ม จะต้องถูกปิดที่ปลายทั้ง 2 ด้านของระบบ  และปลายข้างหนึ่งของ Terminator จะต้องต่อลง
    ไปเป็นสายดิน (Ground) เพื่อป้องกันไฟรั่วสายดินไม่ควรต่อมากกว่า 1 จุด
  3. ไม่ควรบิดงอสาย Cable อาจจะทำให้การส่งข้อมูลเกิดผิดปกติขึ้นได้
  4. ในแต่ละ  Workstation  ควรทิ้งสายเหลือไว้ประมาณ  3-5 เมตร   ทั้งนี้เพื่อสำรองการเคลื่อนย้าย  Workstation  ไปในตำ
    แหน่งใกล้เคียงจะได้ไม่ต้องต่อสายเพิ่มอีก
  5. ในกรณีที่มีการต่อสาย Cable ให้ยาวขึ้นกว่าเดิมโดยทำหัว BNC ที่ปลายสายทั้ง  2  ด้านแล้วนำมาต่อกันนั้นควรใช้ Barrel
    Connector  เป็นตัวเชื่อมจะดีกว่ามาใช้ T-connector   เนื่องจากการใช้ T-Connector  จะทำให้ระบบคิดว่าเป็น   Station
    หนึ่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดจำนวน Station มากเกินข้อจำกัดได้
  6. ในกรณีที่มีการใช้งาน Repeater  (Repeater  เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยทำให้ส่งสัญญาณได้ไกลยิ่งขึ้นในกรณีที่ระบบมีความยาว
    เกินกว่าข้อจำกัด) อย่าลืมต่อ Ground ให้กับ Terminator ที่ติดกับ Repeater ด้วย
  7. ควรต่อสาย Coax กับ BNC โดยไม่ให้สายเส้นในกับเส้นนอกสัมผัสกัน
  8. หากสาย Cable ถูกแบ่งออกเป็น Segment และเชื่อมต่อกันด้วย Repeater  อย่าลืม Ground Segment โดยการให้
    Terminator ที่ติดต่อกับ Repeater นั้นลง Ground

    2. 10 Base 5  มีลักษณะคล้ายกับ 10 Base 2   แต่แทนที่จะต่อ Cable เข้ากับ Station  โดยตรงกลับต่อเข้ากับอุปกรณ์เชื่อมต่อตัว
กลางที่เรียกว่า  "Medium Attachment Unit (MAU)"  แล้วใช้สาย Cable ชื่อ  "AttachmentUnit Interface (AUI)"  เป็นตัวเชื่อมต่อ
จาก MAU เข้าสู่  Station   ส่วนสาย Cable ระหว่าง Station จะใช้ชนิด RG8 หรือ RG11 ซึ่งเป็นแบบ Thick Coaxial Cable และยัง
คงมี Ground Terminators ขนาด 50 โอห์ม 2 ตัวปิดหัวท้ายของระบบ

 

ลักษณะการเชื่อมต่อจะยากกว่าแบบ 10 Base2 แต่ข้อจำกัดต่างๆ จะดีขึ้นกว่า 10 Base 2 ดังนี้
 

Restrication
Value
Minimum Length Between transceivers
2.5 M
Maximum Transceiver Cable Length
50 M
Maximum Segment Length
500 M
Maximum Network Length
2500 M
Maximum Node Separation
5 Segments / 4 Repeater
Maximum Taps Per Segment
100
Maximum Populated Segments
3

ความหมายของตาราง
   - Minimum Length between transceivers ความยาวต่ำสุดของ Cable ระหว่าง Transceiver 2 ตัว
   - Maximum Transceiver cable Length ความยาวสูงสุดของ Cable ที่ Transceiver
ข้อแนะนำในการติดตั้ง Coax แบบ Thick
   จะเหมือนกับการติดตั้งแบบ Thin

    3. 10 Base T  เป็นที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน  เนื่องจากติดตั้งได้ง่ายและดูแลรักษาง่ายความจริง 10 Base T ไม่ได้เป็น Ethernet
โดยแท้  แต่เป็นการผสมระหว่าง Ethernet และ Star สายที่ใช้ก็คือ UTP  และมีอุปกรณ์ตัวกลางเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างสายที่มา
จากทุกๆ  Station อุปกรณ์ตัวกลางนี้เรียกว่า  Concentrator หรือ Hub   ซึ่งจะคอยรับสัญญาณระหว่าง  Workstation  และ
File Server   ในกรณีที่มีสายจาก Station ใดเสียหรือมีปัญหาที่เกิดขึ้น จะไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อระบบ Network เลย  แต่ระบบนี้
จะต้องดูแลรักษา Hub เป็นอย่างดี  เนื่องจากถ้า Hub มีปัญหาขึ้น ทั้งระบบจะหยุดชะงักทันที

 


อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ 10 Base T ได้แก่

    • สาย UTP หรือ STP
    • หัวต่อ RJ-45 เพื่อต่อกับสาย Twisted Pair
    • Wiring Concentrator หรือ Hub

หน้าที่ของ Wiring Concentrator

  1. ดูแลการจัดส่ง Data Packet ให้มีมาตรฐานเป็นไปตามข้อกำหนดของ IEEE 802.3
  2. ตรวจสอบและดูแลการเชื่อมต่อกันของ Workstation Port ต่างๆ
  3. ทำการ Partition ของ Port ออกจากกันในกรณีมีการชนกันของสัญญาณจาก Workstation ต่างๆมากกว่า 30 จุด
  4. ทำหน้าที่ Repeat สัญญาณ หรือ เป็น Repeater ได้ในตัวเอง
ตารางแสดงข้อจำกัดบางประการของ 10 Base T


 

Restrication
Value
Minimum Workstation to concentrator Length
100 M
Maximum Node Per Segment
512
Maximum Concentrators in Sequence
4
Maximum Concentrators in PerSegment
12
Maximum Node Separation
5 Segments / 4 Repeater


ความหมายในตาราง
   - Maximum Workstation to concentrator Length คือความยาวสูงสุดระหว่าง Hub กับ Workstation
   - Maximum Nodes Per Segment หมายถึง จำนวน Station สูงสุดใน LAN 1 วง
   - Maximum Concentrators in Sequence หมายถึง นำ Hub มาวางซ้อนกันได้สูงสุดกี่ตัว
   - Maximum Concentrators Per Segment หมายถึงจำนวน Hub สูงสุดที่ใช้ต่อเชื่อมกันใน LAN 1 วง
ข้อแนะนำในการติดตั้งสาย UTP

  1. ไม่ควรหักงอสายเนื่องจากป้องกันคลื่นรบกวนได้ไม่ดีพอ
  2. อย่าม้วนสายเป็นขดๆ มากกว่า 10 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางของสาย   เนื่องจากจะเกิดสัญญาณรบกวนกันเองไม่ควรเดิน
    สาย UTP นอกอาคารเนื่องจากป้องกันไฟสถิตไม่ได้
  3. ควรต่อสาย UTP กับ RJ-45 ให้ถูกตำแหน่งที่มีอยู่ทั้งหมด 8 เส้นดังตาราง
    ช่องใน RJ-45
    สีของสาย UTP
    1
    ขาว/ส้ม
    2
    ส้ม
    3
    ขาว/เขียว
    4
    ฟ้า
    5
    ขาว/ฟ้า
    6
    เขียว
    7
    ขาว/น้ำตาล
    8
    น้ำตาล

  4. ในการคลายสายที่ตีเกลียวออก ก่อนที่จะทำการเข้าหัวสาย RJ-45 ควรจะคลายออกให้ น้อยที่สุด
  5. ให้ใช้สายเส้นเดียวกันตลอดการเดินใน 1 จุด (ห้ามนำสายมาต่อกัน)
  6. ในการต่อ Hub มากกว่า 1 ตัวนั้น สาย UTP ที่ใช้ต่อเชื่อมระหว่าง Hub จะต้องมีความยาวไม่เกิน 100 เมตร และใน 1 Data
    Patch จะต้องมี Hub ไม่เกิน 4 ตัว
  7. ขณะเดินสายควรทำเครื่องหมายระบุหมายเลขไว้ด้วยที่ต้นสายและปลายสาย มิฉะนั้นอาจสลับสายกัน  ทำให้เกิดความผิด
    พลาดขึ้นได้
  8. อย่าเดินสายใกล้กับแหล่งจ่ายไฟ หรือ บริเวณที่มีสัญญาณรบกวน เช่น มอเตอร์ , UPS , หม้อแปลงไฟ , สายไฟบ้าน ฯลฯ
    เป็นต้น แต่หากจำเป็นต้องเข้าใกล้สายดังกล่าว ให้เดินห่างจากสายสัญญาณมากกว่า 6 ฟุต
  9. เมื่อทำการเดินสายสัญญาณเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ควรจะมีการวาดเส้นทางการเดินสายสัญญาณเก็บเอาไว้ด้วย






Copyright © 2010 All Rights Reserved.